วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 13 วันที่ 30 กันยายน พ.ศ 2553

วันนี้อาจารย์ ให้ทำแบบประเมินอาจารย์ อาจารย์พบปะพูดคุยเรื่องการตรวจบล็อก นัดวันตรวจบล็อก และสั่งงาน อาจารย์ให้ทำป้ายนิเทศอะไรก็ได้ตามอิสระ มีหน่วยการสอนอะไร






วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

วันที่ 23 กันยายน 2553 (ครั้งที่ 12)

อาจารย์พบปะพูดคุย สรุปเรื่องต่างๆ รวมถึงการทำบล็อกให้ได้คะแนน ว่าส่วนประกอบของบล็อกมีอะไรบ้าง การใส่รูปต่างๆอาจารย์ตรวจบล็อกพร้อมทั้งบอกข้อแนะนำ อาจารย์ให้ส่งแป้งโดว์พร้อมนำเสนอ




อาทิตย์อาจารย์สั่งให้เอากระดาษลังมาด้วย

วันที่ 16 กันยายน 2553 (ครั้งที่ 11)

วันนี้อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์มีส่วนประกอบดังนี้
เกลือ 1/2 ถ้วย
แป้งสาลี 1 ถ้วย
สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 1 ถ้วย
ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอกแทนก็ได้
สีผสมอาหาร
วิธีทำ
นำเกลือ แป้งสาลี สารส้มป่น ผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำและน้ำมัน ทีละน้อยให้เข้ากันดี ใส่สีผสมอาหาร นำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะ แล้วยกลงนำมานวด แล้วเก็บในภาชนะให้มิดชิด (ไม่ต้องแช่เย็น)
















ท้ายชั่วโมงอาจารย์สั่งงานกลุ่ม ให้ทำวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ให้มาทำเป็นของเล่นที่ไว้เล่นกับแป้งโดว์

วันที่ 9 กันยายน 2553 (ครั้งที่ 10)

วันนี้อาจารย์นัดส่งงาน pop up สามชิ้น จะอาจารย์นัดส่งงานอันเก่าทั้งหมด และให้ทำเกมการศึกษาทที่ร่างในบล็อกมาทำส่ง บรรยายกาศภายในห้องเต็มไปด้วยเสียงคุยกันเสียงดัง ได้โชว์ผลงานซึ่งกันและกัน แต่ผลงานของดิฉันไม่ได้ถ่ายรูปไว้

วันที่ 2 กันยายน 2553 (ครั้งที่ 9)

วันนี้อาจารย์ได้นัดสองกลุ่มเรียนร่วมกัน อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเล่นเกม เกมมีหลายแบบ เป็นเกมตัวอย่างในการทำเกมการศึกษา ในเกมมีสาระการเรียนรู้ที่มากมายหลายแบบ อาจารย์หมุนวนกัน ให้เล่นทุกแบบ อาจารย์สั่งงาน pop up สามแบบ โดยสร้างสรรค์จากความคิดของเราเอง แต่ดิฉันไม่ได้ถ่ายรูปไว้





วันที่ 19 สิงหาคม 2553 (ครั้งที่ 8)

จากที่เข้าอบรมไหนวันเสาร์ที่ผ่านมาอาจารย์สอนวิธีทำสื่อหลายๆแบบ มีตัวอย่างให้ดูมากมาย ได้เรียนรู้วิธีการต่างๆ บรรยากาศภายในห้องเต็มไปด้วยความสนุก มีเพื่อนหลายๆคนที่ไม่ได้มา ทำให้พลาดโอกาสที่ดีไปโดยไม่รู้ตัว
อาจารย์แบ่งกลุ่ม ให้ทำงานกลุ่มละหนึ่งชิ้น กลุ่มดิฉันได้จับคู่ภาพที่สัมพันธ์กัน


และท้ายชั่วโมงอาจารย์สั่งงานให้ทำเป็นงานเดี่ยว









วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7 วันที่ 29 กรกฏาคม 2553

เกมจับคู่ภาพเหมือน
เกมนี้จับคู่ภาพเหมือน จำนวนเท่ากัน

ครั้งที่ 6 วันที่ 22 กรกฏาคม 2553


อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษา

บรรยายกาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน เพื่อนช่วยกันแสดงความคิดเห็นบาง

เกมการศึกษา( Didactic Game )
เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมการเล่นที่เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านสติปัญญา เป็นการเล่นที่ช่วยให้ผู้เล่นเป็นผู้มีความสังเกตดี ช่วยให้มองเห็นได้ ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากของเล่นอย่างอื่น แต่ละชุดจะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูกต้องหรือไม่ หรืออาจกล่าวว่าเกมการศึกษาหมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน

มีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้

- เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเล่นเกมประเภทสองมิติ

- เพื่อพัฒนาความสามารถที่จะอธิบายความแตกต่างของเกมในเรื่องสี รูปร่าง ขนาด

- เพื่อพัฒนาความสามารถในกการบอกลักษณะของสิ่งของซึ่งอาจเป็นนามธรรม

- เพื่อพัฒนาความสามารถในการจดจำคุณสมบัติ โดยนำมาวางในตาราง

- ฝึกกการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา

- ฝึกการคิดหาเหตุผล

- ฝึกการตัดสินใจ


วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 8 กรกฏาคม 2553 (ครั้งที่ 4)

การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การแบ่งประเภทสื่อ
-ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
-ตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน
ตามแนวคิดของ เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale)
ประกอบด้วย

หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน

แนวคิดการเลือกสื่อการสอนของโรมิสซอร์สกี้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน

1.วิธีการสอน

2.งานการเรียนรู้

3.ลักษณะของผู้เรียน

4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ

5.ผู้สอนหรือครู

แนวคิดการเลอกสื่อการสอนของเดมทีและสเมลไล

ผู้สอนควรศึกษาลักษณะของสื่อดังต่อไปนี้

1.การแสดงแทนด้วยภาพ

2.ปัจจัยทางขนาด

3.ปัจจัยทางด้านสี

4.ปัจจัยด้านการเคลื่อนไหว

5.ปัจจัยด้านภาษา

6.ความสัมพันธ์ของภาพและเสียง

7.ปัจจัยทางด้านดารจัดระเบียบข้อมูล

สรุป(หลักการในการเลือกสื่อการสอน)

1.เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน

3.เลือกสื่อการสอนเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน

4.เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน

5.เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

6.เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ

7.เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฏาคม 2553


อาจารย์สรุปความหมายของสื่อไว้ดังนี้

สื่อการสอน หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆที่อาจเป็นวัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ครูเลือกมาและวางแผนใช้ร่วมเข้าไปในเนื้อหาของหลํกสูตรวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมและความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญาและความสามารถของนักเรียนเพื่อให้กระบวนการการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ

คุณค่า ( สื่อกับผู้เรียน )

-ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น

-ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้

-ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดการคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้ถูกต้อง

-ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียน และเกิดความประทับใจ จดจำได้นาน

-ช่วยให้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ สามารถทำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน

-ส่งเสริมความคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์

-ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น

-ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหา

-ช่วยสร้างบรรยายกาศที่ดีในการเรียนการสอน

-ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน

-ผู้สอนมีความตื่นเต้นในการผลิตสื่อต่างๆให้น่าสนใจมากขึ้น

หลักการเลือกสื่อการการสอน

1.สื่อนั้นต้องมีสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ท่คาดหวัง

2.เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ

3.เป็นสื่อที่เหมาะสมกับ ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน

4.สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป

5.ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง

6.มีราคาไม่แพงจนเกินไปหรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

ขั้นตอนในการใช้สื่อ

-ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

-ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน

-ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ

-ขั้นสรุปบทเรียน

-ขั้นประเมินผู้เรียน

+ โดยการถาม

+โดยการสังเกต

+โดยการตรวจผลงาน

+ใช้แบบทดสอบ

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน

-เตรียมตัวผู้สอน

-เตรียมจัดสภาพแวดล้อม

-การใช้สื่อ

-การติดตามผล (หลักการใช้สื่อการเรียนและวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอน)

การเลือกสื่อการเรียนรู้

-สื่อสัมพันธ์กับมุ่งหมายและเนื่อหาที่สอน

-สื่อต้องเหมาะสมกับวัยผู้เรียน

-ความสะดวกในการนำไปใช้

-ความเป็นไปได้ในการจัดหาและค่าใช้จ่าย

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันที่ 24 มิถุนายน 2553 (ครั้งที่ 2)

สื่อ คือ ตัวกลางที่จะถ่ายทอด ทักษะ เนื้อหา ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้เรียน ( ผู้ส่งสาร ตัวกลาง ผู้รับสาร )

อาจารย์ให้ตอบคำถามที่อาจารย์กำหนดให้โดยแสดงความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่ม

1.เด็กปฐมวัยคือใครและเราจะศึกษาความเป็นตัวเด็กได้อย่างไร
เราสามารถศึกษาความเป็นตัวเด็กได้จาก สิ่งแวดล้อม ครอบครัว

2.เด็กปฐมวัยคือใคร

เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-6 ปี

3.เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้อย่างไรบ้าง

มีการเรียนจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ลงมือปฎิบัติจริง

4.นักทฤษฎีที่คุณรู้จักมีใครบ้าง

เฟรอเบล ว่าพลังความสามารถและความรู้ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ภายในตนจะปรากฏออกสู่ภายนอกได้ถ้าได้สัมผัสกับอุปกรณ์และประสบการณ์ การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติเป็นการนำเด็กไปสู่การพัฒนาร่างกาย สติปัญญาและคุณธรรมที่สูงขึ้น

จอห์น ล็อค เชื่อว่า เด็กแรกเกิดมีความสะอาดบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาว เด็กจะเรียนรู้หรือพัฒนาความคิดของตนจากสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับนั้น

อริสโตเติล การศึกษาช่วยอบรมคนให้เป็นพลเมืองที่ดี การศึกษาช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ และมีชีวิตด้วยความบริสุทธิ์

รุซโซ การศึกษาควรพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามธรรมชาติ การรับรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐานที่แท้จริงในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์

จอห์น ดิวอี้ การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การเรียนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มและมีอิสระในการคิด

กิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์แนะนำการแสดงความคิดเห็นร่วมกันภายในกลุ่มโดยยึดประชาธิปไตย คือทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและยอมรับรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การมีส่วนรวมของการทำงานความกล้าแสดงออกและได้ทวบทวนวิชาที่เรียนมาเกี่ยวกับนักทฤษฎีต่างๆๆ

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

(ครั้งที่ 1) วันที่ 17 มิถุนายน 2553



อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาอจารย์แนะนำวิธีเรียนในประสบความสำเร็จ

แนะนำเรื่องการทำบล็อก

การมีส่วนร่วมของการประเมิท

การมีวินัย_การมีวินัยในตัวเอง

ความรับผิดชอบ_มีความผิดชอบต่อหน้าที่

มายาท_ในนั่งเรียนและเข้าออกนอกห้องเรียน ต้องบอกขออนุญาติ

มารยาทในห้องเรียน เช่น ท่านั่ง ไม่ควรนั่งกอดอก
มารยาทในการฟัง

การเข้าเรียน 08.30 ช้าได้ 15 นาที ช้าไปหนึ่งชั่งโมงถือว่ามาสาย

ความตั้งใจงานจะสะท้อนความตั้งใจความตั้งใจความเอาใจใส่

มีการซักถาม อาจารย์จะมีแต้มให้

สื่อ คืออะไร

สื่อในความคิดของดิฉินคือ

วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการสอน เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้าใจให้แก่นักเรียน